วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

แผนการสอนครูกุสุมา แสงมาศ

เศษส่วนที่มองเห็นได้Fraction Made Visual

-->

เหลียวมอง
ช่วงชั้น: ช่วงชั้นที่ 2สาระการเรียนรู้: คณิตศาสตร์หัวข้อ: เศษส่วนสาระสำคัญ: เศษส่วน เทคนิคการวิจัย การแก้ปัญหาเวลาโดยประมาณ: 20 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที รวมเวลาสำหรับนักเรียนรายบุคคลและกลุ่มย่อยในการทำงานคอมพิวเตอร์Learn more ›-->


สิ่งที่จำเป็นต้อง
มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร แผนการประเมิน แหล่งความรู้ ดาวน์โหลดหน่วยการเรียนรู้ฉบับเต็ม (ZIP 547KB)Learn more ›-->

สรุปภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้ / Unit Summaryนักเรียนจะเรียนรู้ความสำคัญของความแม่นยำทางคณิตศาสตร์และ สวมบทบาทในอาชีพที่ใช้เศษส่วนในหน้าที่การงาน หลังการทำวิจัย นักเรียนจะจัดทำและแลกเปลี่ยนงานนำเสนอด้วยมัลติมีเดียหรือจดหมายข่าวซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการรู้เศษส่วนในอาชีพที่เลือก
คำถามเพื่อกำหนดกรอบการเรียนรู้ / Curriculum Framing Questions
คำถามสร้างพลังคิด / Essential Questions ความแม่นยำสำคัญขนาดนั้นจริงหรือ
คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ / Unit Questions เศษส่วนสำคัญใช่หรือไม่หรือเราจะดีกว่านี้ถ้าไม่มีเศษส่วนจะนำเศษส่วนมาใช้ในงานได้อย่างไร และจำเป็นต้องมีเศษส่วนเพื่อทำให้งานสำเร็จใช่หรือไม่ความเข้าใจเรื่องเศษส่วนสามารถทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้นได้อย่างไรเศษส่วนสำคัญใช่หรือไม่หรือเราจะดีกว่านี้ถ้าไม่มีเศษส่วนจะนำเศษส่วนมาใช้ในงานได้อย่างไร และจำเป็นต้องมีเศษส่วนเพื่อทำให้งานสำเร็จใช่หรือไม่ความเข้าใจเรื่องเศษส่วนสามารถทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้นได้อย่างไร
คำถามประจำบทเรียน / Content Questions เศษส่วนคืออะไรเราบวก ลบ คูณและหารเศษส่วนได้อย่างไรความแตกต่างระหว่างเศษและส่วนคืออะไรเราเปลี่ยนตัวเลขจำนวนคละเป็นเศษส่วนที่เศษมากกว่าหรือเท่ากับส่วน (improper fraction) ได้อย่างไร
กระบวนการประเมินนักเรียน / Assessment Processesศึกษาว่าการประเมินที่หลากหลายซึ่งเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางนำมาใช้ในแผนการจัดการเรียนรู้ การประเมินเหล่านี้ช่วยนักเรียนและครูกำหนดเป้าหมาย กำกับติดตามความก้าวหน้า แสดงความคิดเห็นย้อนกลับ ประเมินกระบวนการคิด การปฏิบัติงานและผลงาน รวมทั้งสะท้อนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตลอดวงจรแห่งการเรียนรู้
ขั้นตอนการสอน / Instructional Proceduresแนะนำหน่วยการเรียนรู้เริ่มหน่วยการเรียนรู้โดยใช้คำถามประจำหน่วย เศษส่วนสำคัญใช่หรือไม่หรือเราจะดีกว่านี้ถ้าไม่มีเศษส่วนกระตุ้นให้นักเรียนตอบคำถาม และบันทึกความคิดของตนเองไว้ในบันทึกทางคณิตศาสตร์ (DOC 48KB) ระหว่างสัปดาห์แรกของหน่วยการเรียนรู้ ให้แนะนำเศษส่วนโดยใช้งานนำเสนอของครูเรื่องเศษส่วนพื้นฐาน (PPT 119KB) เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจเศษส่วนในลักษณะที่เป็นรูปธรรม ให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ตรงที่หลากหลายในการใช้เศษส่วนในชีวิตจริง ให้ตกแต่งคุกกี้ตามเศษส่วน แบ่งคุกกี้กระดาษในกลุ่มเพื่อน ศึกษาเรื่องเศษส่วนในชีวิตประจำวัน และจัดทำแม่แบบเศษส่วนของตนเอง หลังจากทำแต่ละกิจกรรมแล้ว ให้นักเรียนถ่ายภาพชิ้นของเศษส่วนไว้ให้ห้องสมุดดิจิทัลของห้องเรียน ใช้ในโครงงานภายหลัง จดบันทึกการสอนขณะที่นักเรียนฝึกทักษะการบันทึกเป็นเอกสาร ซึ่งอาจต้องทบทวนก่อนทำหน่วยการเรียนรู้นี้ต่อแจกรูบริกโครงงาน (DOC 44.5KB) และอภิปรายข้อกำหนดของหน่วยการเรียนรู้ แจ้งให้นักเรียนทราบว่าเราจะใช้รูบริกนี้เพื่อประเมินการทำงานและความเข้าใจในเรื่องแนวคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ที่เรียนรู้ตลอดหน่วยการเรียนรู้นี้การจัดทำและจัดพิมพ์จดหมายข่าวสัปดาห์ที่สอง ให้นักเรียนมีประสบการณ์ตรงมากขึ้นเกี่ยวกับเศษส่วน ตอนท้ายของสัปดาห์ แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย และให้แต่ละกลุ่มเขียนสรุปกิจกรรมหนึ่งอย่างเพื่อที่จะจัดพิมพ์ในจดหมายข่าวของห้องเรียน (DOC 579KB)แจกเกณฑ์การให้คะแนนจดหมายข่าว (DOC 50.5KB) เพื่อใช้เป็นแนวสำหรับกระบวนการ ให้นักเรียนจัดประชุมระหว่างครูและเพื่อนร่วมงานเพื่อรับฟังความเห็นเกี่ยวกับงานเขียน สอนวิธีการทำหัวเรื่องบทความ การนำไปวางในงานเขียน และใส่กราฟิกหรือภาพถ่ายลงในแม่แบบจดหมายข่าวของห้องเรียนโดยใช้ซอร์ฟแวร์สิ่งพิมพ์ สั่งพิมพ์จดหมายข่าวและจัดส่งไปตามบ้านของนักเรียนการนำเสนอภาพรวมของโครงงานเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจความสำคัญของเศษส่วนและความถี่ของการใช้เศษส่วนในชีวิต นักเรียนเรียนรู้ว่าอาชีพต่าง ๆ ใช้เศษส่วนในงานได้อย่างไรใช้คำถามประจำหน่วย จะนำเศษส่วนมาใช้ในงานได้อย่างไร และเศษส่วนจำเป็นต่อการทำให้งานสำเร็จลุล่วงด้วยใช่หรือไม่ และความเข้าใจเรื่องเศษส่วนสามารถทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้นได้อย่างไรให้นักเรียนเขียนคำถามลงในบันทึกทางคณิตศาสตร์ (DOC 48KB) รวบรวมบันทึกเป็นระยะ ๆ ตลอดหน่วยการเรียนรู้เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน และปรับการสอนสำหรับรายบุคคลหรือทั้งห้องเรียนหากจำเป็น แจ้งให้นักเรียนทราบว่า จะค้นพบคำตอบของคำถามเหล่านี้ได้ และคำถามประจำหน่วยที่นำเสนอก่อนหน้านี้โดยสวมบทบาทเป็นคนในสาขาอาชีพต่าง ๆ ที่ต้องใช้เศษส่วน ภาระหน้าที่คือค้นหาว่าเศษส่วนสำคัญอย่างไรต่ออาชีพ และความสามารถในการใช้เศษส่วนส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานอย่างไร ท้ายที่สุด นักเรียนจะต้องแก้ปัญหาเศษส่วนในชีวิตจริงที่เกี่ยวข้องกับอาชีพนั้น ๆ ในด้านใดด้านหนึ่ง และสรุปว่าจะนำมาใช้ในชีวิตของเราได้อย่างไรมอบหมายหรือให้นักเรียนเลือกอาชีพที่ต้องใช้เศษส่วนเป็นประจำในการทำงาน หลังจากที่นักเรียนแต่ละคนเลือกได้อาชีพที่ต้องการแล้ว แจกรายการตรวจสอบนักเรียน (DOC 38KB) และอภิปรายข้อกำหนดของโครงงาน ต้องแน่ใจว่านักเรียนเข้าใจภาระงานที่มอบหมายให้
การทำวิจัยและรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ก่อนที่เราจะให้นักเรียนทำวิจัยอาชีพที่เลือกแล้ว ให้อภิปรายหาวิธีที่ดีที่สุดที่จะรวบรวมข้อมูลตามหัวข้อที่ต้องการ ให้ระดมสมองหารายการวิธีที่จะรวบรวมข้อมูลและเทคนิคในการค้นหาคำตอบ ถ้าเทคนิคการทำวิจัยที่สำคัญ เช่น การสัมภาษณ์ ไม่อยู่ในรายการ ให้แนะนำเพิ่มเติมด้วย หลังจากที่ทำรายการเสร็จแล้ว อภิปรายแต่ละเทคนิค ชี้ให้เห็นว่าการครอบคลุมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่หลากหลายและการใช้เทคนิคการวิจัยที่แตกต่าง เพิ่มความเชื่อถือและความสนใจต่อโครงงานวิจัยได้อย่างไรจัดเตรียมรายชื่อเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับวิจัยอาชีพที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งแม่แบบทางอิเล็คทรอนิคส์หรือใบงานและบันทึกข้อมูล ใบงานช่วยนักเรียนในการจัดเรียบเรียงงานนำเสนอที่จะจัดทำต่อไป นอกจากนี้ สาธิตเทคนิคการสัมภาษณ์และอภิปรายความสำคัญของการรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพนั้น ๆ ช่วยกันคิดคำถามสำหรับสัมภาษณ์ที่อาจจะสำคัญเพื่อซักถามผู้เชี่ยวชาญซึ่งสามารถช่วยกำหนดเกณฑ์ของโครงงานและตอบคำถามประจำหน่วย อภิปรายว่าสามารถใช้อีเมล์เป็นเครื่องมือที่จะสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญ เตือนนักเรียนเกี่ยวกับมารยาทและกฎที่ควรปฏิบัติตามเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตและอีเมล์ แม้แต่เวลาที่ทำวิจัย เผื่อเวลาสองสามวันให้นักเรียนทำวิจัยและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จัดทำข้อสรุปและการเชื่อมโยงบนพื้นฐานการวิจัยหลังจากที่นักเรียนมีเวลามากพอที่จะรวบรวมและจัดเรียบเรียงข้อมูลว่านำเศษส่วนมาใช้ในแต่ละอาชีพได้อย่างไร ให้นักเรียนเริ่มคิดถึงการประยุกต์ใช้เศษส่วนของตนเอง ในปัจจุบันและอนาคต เตือนนักเรียนว่าในงานนำเสนอควรตอบคำถามประจำหน่วยต่อไปนี้
เศษส่วนสำคัญใช่หรือไม่ หรือเราจะดีกว่านี้ถ้าไม่มีเศษส่วน
นำเศษส่วนมาใช้ในงานได้อย่างไร และจำเป็นต้องมีเศษส่วนในการทำให้งานสำเร็จใช่หรือไม่
ความเข้าใจเรื่องเศษส่วนสามารถทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้นได้อย่างไร
ความแม่นยำสำคัญขนาดนั้นจริงหรือ ชี้แนะและช่วยนักเรียนเท่าที่จำเป็นเพื่อสร้างความเชื่อมโยงและทำข้อสรุป จัดการประชุมนักเรียนตลอดกระบวนการวิจัยและโครงงานเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนทำงานถูกต้อง ตอบคำถามและได้รับความเห็นที่มีคุณค่าหลังจากที่นักเรียนเชื่อมโยงระหว่างอาชีพที่ได้รับมอบหมายและของตนเองแล้ว ให้นักเรียนแต่ละคนศึกษาปัญหาเศษส่วนในโลกที่เป็นจริงที่สะท้อนการเชื่อมโยง บอกให้นักเรียนทราบว่าต้องระบุปัญหาที่เกิดจริงในโลกและแสดงขั้นตอนทีละขั้น ถึงวิธีแก้ปัญหา ขณะที่นักเรียนแต่ละคนอธิบายกระบวนการที่ใช้ในแก้ปัญหา นักเรียนควรระบุและครอบคลุมคำตอบสำหรับคำถามประจำบทต่อไปนี้ด้วย
เศษส่วนคืออะไร
เราบวก ลบ คูณและหารเศษส่วนได้อย่างไร
ความแตกต่างระหว่างเศษ และส่วนคืออะไร
เราเปลี่ยนเศษส่วนจำนวนคละเป็นเศษเกินได้อย่างไร
แนะนำและช่วยนักเรียนเท่าที่จำเป็น ขณะที่แก้ปัญหาและทำข้อสรุปการจัดทำงานนำเสนอหลังจากที่นักเรียนรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยและใช้กับปัญหาเศษส่วนในโลกแห่งความเป็นจริงที่เกี่ยวข้อง ให้แบบฟอร์มผังเค้าโครงเนื้อหาและสอนวิธีเริ่มกระบวนการจัดทำงานนำเสนอด้วยมัลติมีเดีย (PPT 242KB) ขั้นแรก ให้นักเรียนวางแผนงานนำเสนอด้วยการทำผังเค้าโครงให้เสร็จสมบูรณ์ แต่ละผังเค้าโครงเนื้อหาควรครอบคลุมหัวเรื่องสไลด์และรายการหัวข้อย่อยของประเด็นสำคัญ เมื่อจัดทำผังเค้าโครงเนื้อหาเสร็จสมบูรณ์ ให้นัดพบกับนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อพูดคุยเรื่องงานนำเสนอและแนะนำสิ่งที่ต้องแก้ไข หลังจากที่ผังเค้าโครงเนื้อหาผ่านการเห็นชอบแล้ว ให้นักเรียนเริ่มทำสไลด์ ชี้แนะแนวทางและช่วยนักเรียนหากจำเป็นขณะที่จัดทำงานนำเสนอการนำเสนองานด้วยปากเปล่าหลังจากที่นักเรียนทำงานนำเสนอเสร็จสมบูรณ์แล้ว ให้จับคู่นักเรียน แต่ละคู่ให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการนำเสนองานด้วยปากเปล่า โดยสลับกันเป็นผู้สัมภาษณ์ และอีกคนหนึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ให้เวลาหนึ่งหรือสองชั่วโมงในการคิดคำถามสำหรับสัมภาษณ์ และฝึกการนำเสนอ ผู้สัมภาษณ์ (ผู้ช่วยนักเรียน) ถามคำถาม และผู้เชี่ยวชาญ (คนนำเสนอ) โต้ตอบกับคำถามโดยใช้สไลด์เพื่อสนับสนุนประเด็นการพูดคุย จัดสรรเวลาให้นักเรียนนำเสนอโครงงาน อำนวยความสะดวกการอภิปรายภายหลังแต่ละการนำเสนอ อ้างอิงคำถามสร้างพลังคิดอีกครั้ง และให้นักเรียนใช้ข้อมูลที่เพิ่งนำเสนอเพื่อช่วยตอบคำถามต่อไปนี้
ความแม่นยำสำคัญขนาดนั้นจริงหรือ
เศษส่วนสำคัญใช่หรือไม่ หรือเราจะดีขึ้นถ้าไม่มีเศษส่วน
จะนำเศษส่วนมาใช้ในงานได้อย่างไร และจำเป็นต้องมีเศษส่วนเพื่อให้งานสำเร็จใช่หรือไม่
ความเข้าใจเรื่องเศษส่วนสามารถทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้นได้อย่างไร
บันทึกการโต้ตอบของนักเรียนลงในแผนภูมิหลังการนำเสนอทั้งหมด ให้ย้อนกลับไปที่แผนภูมิที่ทำเสร็จแล้ว และทำข้อสรุปเรื่องความสำคัญของเศษส่วนการจัดทำ wiki (ทางเลือก)ตลอดหน่วยการเรียนรู้ ให้นักเรียนแก้คำปริศนาประจำวันโดยใช้ชุดเศษส่วน (หรืออื่น ๆ ที่เหมาะสม) ถ้ามีเวลาเพียงพอ ให้นักเรียนคิดปริศนาด้วยตนเองให้เพื่อนแก้คำปริศนา แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย และให้คิดคำปริศนา หลังจากที่แต่ละกลุ่มคิดได้แล้ว ให้จัดทำ wiki ที่มีคำปริศนา แบบฟอร์มการโต้ตอบสำหรับผู้ชมสามารถส่งคำตอบ และท้ายสุดพร้อมคำเฉลยที่อธิบายแนวทางแก้ไขคำปริศนา อนุญาตให้นักเรียนนำคำปริศนาบน wikiไปจัดพิมพ์ และรับฟังความเห็นจากเพื่อนร่วมห้อง พ่อแม่ เพื่อนทางอีเล็คทรอนิคส์ (ePALS) และอื่น ๆ ขยายขอบเขตการเรียนรู้ให้ไกลกว่าห้องเรียนสรุปเปิดการอภิปรายเกี่ยวกับคำถามสร้างพลังคิด ความแม่นยำสำคัญขนาดนั้นจริง ๆ หรือ ให้นักเรียนจับคู่ร่วมคิด (Pair and Share) เพื่อพูดคุยหาคำตอบและความเห็นต่อคำถามสร้างพลังคิดโดยใช้ตัวอย่างจากงานวิจัยและโครงงาน ทำการสลับคู่และให้เวลานักเรียนแลกแลกเปลี่ยนกับเพื่อนคนอื่น ๆ จดบันทึกการสอนขณะที่มีการอภิปราย ทำเป็นลายลักษณ์อักษรความเข้าใจในแนวคิดรวบยอดที่เรียนของนักเรียนตลอดหน่วยการเรียนรู้ ให้นักเรียนบันทึกข้อคิดเห็นและความเห็นลงในบันทึกทางคณิตศาสตร์ (DOC 48KB) ของตนเอง
ทักษะพื้นฐานเดิมของนักเรียน / Prerequisite Skills
ประสบการณ์ในการนำเสนอด้วยอิเล็คทรอนิคส์และซอร์ฟแวร์สิ่งพิมพ์
ประสบการณ์การใช้เว็บเบราว์ซิ่ง
คุ้นเคยกับเศษส่วน
ความรู้พื้นฐานเรื่องหลักการการบวก การลบ การคูณ และการหาร
การดัดแปลงตามสภาพความต้องการที่แตกต่างกันของผู้เรียน / Differentiated Instructionนักเรียนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษเตรียมแม่แบบเพิ่มเติม และสื่อสนับสนุนการเรียน นักเรียนที่มีความสามารถเป็นพิเศษ
ให้นักเรียนจัดทำบอร์ดเกมที่สอดคล้องกับคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์และการแก้ปัญหา
ให้นักเรียนจัดทำแบบทดสอบหรือแบบทดสอบย่อยที่เกี่ยวข้องกับเศษส่วนสำหรับห้องเรียน
ผู้เขียนหน่วยการเรียนรู้ / Creditsเดวิด แฟรงเคิล (David Frankle) เข้าร่วมอบรมในโครงการ Intel® Teach

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น